WELCOME
THAWATBUREE


ประวัติความเป็นมา



ตามประวัติ อำเภอธวัชบุรี พ.ศ.2417 ท้าวสุวอ ลูกชายพระขัติยะวงษา เจ้าเมือง ร้อยเอ็ด ได้อพยพครอบครัวและผู้คนเพื่อหาพื้นที่ตั้งเมืองใหม่ เมื่อถึงบ้าน ท่าเสาธง เห็นชัยภูมิทำเลที่เหมาะสม จึงได้จัดการวางแปลนแผนผังเมือง ขึ้น ท่านได้นำเอาแบบแผนประเพณี ระเบียบการปกครองเมืองมาใช้ มีตำแหน่งเจ้า เมือง อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร เมืองแสน เพี้ยเมืองขวาเมืองซ้าย นายเส้น นาย แขวง ตาแสง ขุนกวน และได้สร้างวัดกลางหรือวัดท่าขึ้น พร้อมทั้งทำแผนที่เขต เมืองไว้ คือ พื้นที่สามเหลี่ยมทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของวัดกลาง ใช้เป็น ที่ว่าการเมือง ทิศตะวันออกของที่ว่าการเมืองใช้เป็นที่ว่าการเมือง ทิศ ตะวันตกของที่ว่าการเมืองใช้เป็นเรือนจำ ต่อจากเรือนจำไปทางทิศตะวันตกใช้ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คือ เป็นเจ้าพ่อหลักเมือง
ท้าวสุวอ ได้แบบแปลนแผนผังนำไปเสนอต่อพระขัติยะวงษา เจ้าเมือง ร้อยเอ็ด ขอยกฐานะบ้านท่าเสาธงขึ้นเป็นเมืองและขอตั้งชื่อเมืองว่า "เมือง ธวัชบุรี" พร้อมกับทำแผนที่กำหนดอาณาเขตเมืองไว้ ดังนี้
ทิศเหนือและทิศตะวันนออก จดแม่น้ำชี
ทิศใต้ จด ห้วยไส้ไก่ (ห้วยหางเดียว)
ทิศตะวันตก จด ทุ่งส้าวแห (ทุ่งบ้านคัดเค้า)
พระขัติยะวงษา (เสือ ธนสีลังกรู) เจ้าเมืองร้อยเอ็ด มีใบบอกลงไป กราบทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ขอตั้งเมืองพร้อมกับขอตั้ง ท้าวโพธิราช (ศีลา) น้องชายพระขัติยะวงษา พี่ชายท้าวสุวอ เป็นเจ้าเมืองธวัช บุรีด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง เมืองธวัชบุรี พร้อมทั้งท้าวโพธิราช (ศีลา) เป็นพระธำรงไชยธวัช เจ้าเมือง ธวัชบุรีและขึ้นตรงกับมณฑลอีสาน (อุบล)
ในปี พ.ศ.2424 พระธำรงไชยธวัช (ท้าวโพธิราช) ถึงแก่กรรม พระขัต ิยะวงษา (เสือ) เจ้าเมืองร้อยเอ็ด ขอตั้งท้าวสุวอ เป็นพระธำรงไชยธวัช เจ้า เมืองธวัชบุรี สืบต่อมา จนถึง พ.ศ.2430 จึงได้ลาออกจากราชการ เนื่องจาก ชราภาพ ต่อจากนั้นอำเภอธวัชบุรีจึงว่างเจ้าเมือง มีเพียงแต่ผู้รักษาราชการ แทนเรียงลำดับ ได้แก่ เพี้ยเมืองขวา อัคฮาด (ท้าวเมฆ) หลวงพิพาก (ท้าว สอน) และหลวงเพชรรัชภักดี
จนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว ได้ทรงวางรูปแบบการปกครองใหม่ มีการจัดตั้งจังหวัด อำเภอ ขึ้น ลดฐานะ เมืองสุวรรณภูมิ เมืองกาฬสินธุ์ เมืองมหาสารคาม ลงเป็นอำเภอ ขึ้นอยู่กับ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งขณะนั้นจังหวัดร้อยเอ็ดมี 20 อำเภอ คือ
1. อำเภอปัจจิมร้อยเอ็ด 2. อำเภออุทัยร้อยเอ็ด
3. อำเภอธวัชบุรี 4. อำเภอสุวรรณภูมิ
5. อำเภอจตุรพักตรพิมาน 6. อำเภอเกษตรวิสัย
7. อำเภอพนมไพรแดนมฤค 8. อำเภอสระบุศย์
9. อำเภอปัจจิมกาฬสินธุ์ 10. อำเภอสหัสขันธ์
11. อำเภอกุฉินารายณ์ 12. อำเภอกมลาไสย
13. อำเภออุทัยกาฬสินธุ์ 14. อำเภอเสลภูมิ
15. อำเภอปัจจิมสารคาม 16. อำเภออุทัยสารคาม
17. อำเภอคันธวิไชย 18. อำเภอโกสุมพิสัย
19. อำเภอวาปีปทุม 20. อำเภอพยัคฆภูมิ
หลวงเพชรรัชภักดี เป็นนายอำเภอคนแรก แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 2 ตำบล คือ
1. ตำบลดินแดง (ตั้งชื่อตามสีดินแดงริมฝั่งแม่น้ำชี)
2. ตำบลมะบ้า (ตั้งชื่อตามลำห้วยมะบ้า)
ในปี พ.ศ.2455 สมัยรัชกาลที่ 6 ได้ยกฐานะเมืองร้อยเอ็ด เป็นมณฑล ร้อยเอ็ด มีสมุหเทศาภิบาลปกครอง และยกอำเภอกาฬสินธุ์ และอำเภอสารคามเป็น จังหวัด อำเภอธวัชบุรี จึงขึ้นตรงกับจังหวัดร้อยเอ็ดโดยตรง
ตามประวัติเมืองร้อยเอ็ด อ.เมืองร้อยเอ็ด เดิมชื่ออำเภอปัจจิมร้อยเอ็ด
(ตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยในปัจจุบัน) และอำเภออุทัย ร้อยเอ็ด (ตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนอนุบาลร้อยเอ็ดในปัจจุบัน) โดยอำเภออุทัย ร้อยเอ็ด
ปกครองดูแลระแวกทิศตะวันออก จนถึงอำเภอธวัชบุรี และเมื่อวัน ที่ 27 มิถุนายน 2455 หม่อมเจ้าธำรงศรีธวัช มาเป็นสมุหเทศาภิบาล ได้เปลี่ยน ชื่ออำเภอใหม่เป็น
1. อำเภอปัจจิมร้อยเอ็ด เป็นอำเภอเมืองร้อยเอ็ด
2. อำเภออุทัยร้อยเอ็ด เป็นอำเภอแซงบาดาล
3. อำเภอสระบุศย์ เป็นอำเภออาจสามารถ
ในปี พ.ศ.2456 ได้ย้ายที่ตั้งอำเภอแซงบาดาลจากที่เดิม ไปตั้ง อยู่บ้านโป่งลิง ซึ่งปัจจุบันคือบ้านนิเวศน์ และในปี พ.ศ.2458 ทางราชการได้ ประกาศให้เปลี่ยนชื่ออำเภอให้ตรงกับที่ชื่อตำบลซึ่งเป็นที่ตั้งอำเภอ ในมณฑล ร้อยเอ็ดได้เปลี่ยนชื่อใหม่ 2 อำเภอ คือ อำเภอธวัชบุรี เป็นอำเภอดินแดง และ อำเภอพนมไพรแดนมฤค เป็นอำเภอพนมไพร
ในปี พ.ศ.2483 สมัยนายวาสนา วงศ์สุวรรณ มาเป็นนายอำเภอแซง บาดาล ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอแซงบาดาล เป็นอำเภอธวัชบุรี ตามชื่ออำเภอธวัชบุรี เดิม ที่ได้สูญเสียไปเมื่อ 21 ปีที่แล้ว และชื่ออำเภอธวัชบุรี ก็มีปรากฏมา ตั้งแต่บัดนั้นจนถึงทุกวันนี้

